pintong
|
 |
« เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2012, 04:05:34 PM » |
|
ผมได้เขียนโปรแกรมคำนวนการใช้ปุ๋ยขึ้นมา เพื่อจะได้คำนวนผสมปุ๋ย ให้เกษตรกร โดยไม่คิดราคา เพราะสังเกตุเห็นว่า เกษตรกร ทุกวันนี้ถูกมัดมือชก จากด้วยสาเหตุความไม่เข้าใจ และขาดการส่งเสริม จากผู้รับผิดชอบ โดยตรง โปรดดูตามรูปเหล่านี้ แล้วผมจะอธิบายให้ทราบ สูตรปุ๋ย 13-13-21+mg .5 ใช้แม่ปุ๋ยที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ ราคาถูก แต่โปรดสังเกตุ ปริมาณคลอไรด์ในช่องสีเหลืองทางขวามือ มี 16.45 และได้ N จาก ยูเรีย อย่างเดียว ผมได้เพิ่ม แม็คนีเซียมซัลเฟต ทำให้ได้ ซัลเฟตเพิ่มขึ้นมาอิก
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 21, 2012, 03:10:28 PM โดย pintong »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pintong
|
 |
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2012, 04:08:33 PM » |
|
สูตรเดียวกัน แต่ใช้แม่ปุ๋ยเพิ่มอิกตัว ปริมาณคลอไรด์ลดลง แต่ได้ N จาก NO3 (ไนเตรท)ด้วย ซึ่งมีผลดีมากกว่าอันแรก โดยการเพิ่มโปตัสเซียมไนเตรท เข้ามาอิกตัว เพื่อลดการใช้ โปตัสเซียมคลอไรด์ลง และเป็นการใช้ NO3 ไนเตรท ซึ่งให้ N ไนโตรเจน ที่เป็นประโยชน์ มากกว่า ยูเรีย จากรูปแรกที่เห็น ตัวเลขคลอไรด์ = 16.45 หมายถึงว่า ถ้าเอาปุ๋ยใส่ลงดินไป 100 กก. เราจะใส่ คลอไรด์ ลงไปด้วย 16.45 กก. พืชส่วนมากไม่ชอบคลอไรด์ แต่สามารถทนคลอไรด์ได้ต่างกัน (ไม่ใช่ชอบ) เมื่อเราใส่ คลอไรด์ลงไปทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ย มันก็จะสะสมในดิน จนถึงระดับหนึ่งซึ่งพืชทนไม่ได้ มันก็จะแสดงผลออกมา ปุ๋ยที่เราซื้อมาก็เหมือนกัน เราไม่สามารถรู้ได้ว่าเขาเอาอะไรผสม มีสารประกอบอะไรบ้าง เพราะแม้แต่กรมวิชาการเกษตรเอง ก็ยังแนะนำ ปุ๋ย โปตัสเซียมคลอไรด์ และยูเรีย ส่วนมาก เขาคิดแค่ว่า มีแร่ธาตุสารอาหาร ที่รับรองครบถ้วน จากการวิเคราะห์ทางเคมี แต่ไม่บอกว่า สิ่งเหล่านั้นมีส่วนเกินที่เป็นโทษอะไรบ้าง และแร่ธาตุ ที่เอามาทำ พืชสามารถนำเอาไปใช้ได้หรือไม่
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 16, 2012, 08:57:11 AM โดย pintong »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pintong
|
 |
« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2012, 04:09:07 PM » |
|
สูตรเดียวกัน แต่ราคาสูง ใช้ประโยชน์ได้เท่ากับ อันที่ สอง ราคาสูงเพราะผลจากการใช้ปุ๋ยไม่ถูก แต่อย่างไรก็ตาม มีการใช้ ยูเรียลดลงครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 17, 2012, 06:17:49 AM โดย pintong »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pintong
|
 |
« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2012, 04:10:21 PM » |
|
สูตรเดียวกัน แต่ได้ N จาก NO3 เพิ่มมากขึ้น ซึ่งได้ประโยชน์ กว่า ตัวอย่างที่ สอง และมี แคลเซียม เพิ่มขึ้นมาอิก ซึ่งทั้ง สาม ตัวอย่างไม่มี และมีการใช้ ยูเรีย น้อยมาก ซึ่งมีผล ต่อคุณภาพของพืชมาก จากตัวอย่างจะเห็นว่า ปุ๋ยทั้ง สี่ ตัวอย่างมีสูตรเดียวกันหมด คือ 13-13-21 +mg.5 ซึ่งเป็นปุ๋ยที่นิยม ใช้ในการปลูกกระเทียมมาก แต่ปุ๋ยทั้ง สี่ ตัวอย่างนี้ จะให้ ผลผลิต ที่มีคุณภาพ ไม่เหมือนกัน ทั้ง ปริมาณ ไนเตรท ที่ต่างกัน และ ปริมาณ แคลเซียม และ กำมะถัน ที่เพิ่มขึ้นมา จะเห็นว่าสูตรนี้ดีที่สุดกว่าทุกสูตร ที่เสนอมา เพราะใช้ ยูเรีย น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น และมีแคลเซียม เพิ่มขึ้นมาอิก ซึ่งจำเป็นมาก เนื่องจาก การดูดซึมและใช้ ประโยชน์ ได้้ ของ ปุ๋ยนั้น อัตราส่วน ของ โปตัสเซีียม - แคลเซียม - แม็คนีเซียม มีส่วนสำคัญมาก ในปุ๋ยที่ดี จะต้องมี ทั้ง สาม ตัว ไม่ใช่มีอย่างใดอย่างหนึ่ง และ กำมะถันก็มีส่วนสำคัญมาก ยิ่งถ้าใช้ในกระเทียม เพราะกระเทียมต้องการมาก สังเกตุง่ายๆ ถ้าผลิตผลของพืช ประกอบด้วย สิ่งใดมาก พืชย่อมต้องการสิ่งนั้นมากเช่นกัน เว้นบางอย่างเช่น แป้ง - น้ำตาล - วิตามิน ซึ่งพืชสังเคราะห์ขึ้นมาจากแร่ธาตุที่ได้รับ แล้วผมจะมาต่อเรื่อง ยูเรียต่อไป ซึ่งยูเรียนี้ ชาวสวนที่ปลูกกระเทียมจะทราบดี เพราะเวลาเอากระเทียมมาขายมากๆ (ขายพ่อค้า) ชาวสวนจะบอกว่าไม่ได้ใส่ยูเรีย เพราะถ้าใส่ยูเรีย จะทำให้เก็บไว้นาน คุณภาพจะไม่ใคร่ดี ผมจะอธิบายในครั้งต่อไปครับ อนึ่งวิธีจะดูให้ชัดๆ ให้ใช้เมาส์ วางที่รูปการคำนวนปุ๋ย แล้ว คลิกขวา เก็บรูปไว้ในคอมพิวเตอร์ เอามาดูเปรียบเทียบ จะง่ายกว่าดูในนี้ครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 18, 2012, 06:07:50 AM โดย pintong »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
VALUE
Newbie

กระทู้: 14
|
 |
« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2012, 09:33:00 PM » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
Post By Sport Basketball Only SBO
|
|
|
pintong
|
 |
« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2012, 09:32:14 AM » |
|
ปุ๋ยยูเรีย ก็คือ ปุ๋ยแอมโมเนีย (NH4) ตัวหนึ่ง มีเปอร์เซนต์สูงกว่า ปุ๋ยแอมโมเนีย ตัวอื่นมาก แหล่งที่ให้ ไนโตรเจน N แก่ พืช มี สอง อย่าง คือ ไนเตรท NO3 และ แอมโมเนีย NH4 ถ้าพืชได้รับไนเตรท พอไปที่ใบ ก็จะอาศัย แสงแดด และแร่ธาตุ อื่นๆ สังเคราะห์ ไนเตรท ให้กลายเป็นแอมโมเนีย เพื่อใช้ประโยชน์ (กระบวนการผลิตอาหาร) แก่พืช ต่อไป เนื่องจาก แอมโมเนีย เหมือนอาหารสำเร็จรูป จะเปรียบเทียบในอาหารของคน ก็คือ ไนเตรท เปรียบเหมือน แป้ง และ แอมโมเนีย เปรียบ เหมือน น้ำตาล เมื่อคนเรา กินแป้งเข้าไป ร่างกายก็จะเริ่มเปลี่ยนแป้งเพื่อเป็นน้ำตาล จากน้ำย่อยตัวแรกคือ น้ำลายของเรา คนเราไม่สามารถใช้แป้ง ได้ ต้อง เปลี่ยนเป็นน้ำตาลก่อน แล้วจึงจะใช้ได้
แต่อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถกินน้ำตาลแทนแป้งได้ทั้งหมด การกินอาหารที่ดี ต้องกินจากแป้ง และกินน้ำตาลเมื่อจำเป็นเป็นส่วนน้อย น้ำตาลให้พลังงานอย่างทันที แต่ก็แบบฉาบฉวย ไม่เหมือนแป้ง ซึ่งค่อยเปลี่ยนเป็นน้ำตาล ตามสภาพที่ร่างกายต้องการใช้ ถ้าให้ กรรมกร ที่แบกของเลือกกิน ระหว่าง ข้าว หนึ่ง จาน กับ น้ำตาล หนึ่งจาน ลองคิดดูว่า เขาจะเลือก กินอะไร ทั้งที่ น้ำตาล 1 จาน ให้พลังงาน มากกว่า ข้าวมากมาย
กระบวนการ เปลี่ยนไนเตรท เป็น แอมโมเนียในพืช ก็เช่นเดียวกัน ปุ๋ยที่ดี ต้องมี ไนเตรท มากกว่าแอมโมเนีย
ถ้าพืชดูดแอมโมเนียเข้าไปมาก แล้วใช้ไม่ทัน พืชจะแสดงอาการเหี่ยว และอิกอย่างการเร่งการเจริญเดิบโต แบบรวดเร็ว โดย แอมโมเนีย มีผลต่อคุณภาพของผลผลิต อย่างมาก เช่น ผักสลัด กระเทียม และอื่นๆ
นี่พูดเฉพาะ แอมโมเนีย โดนรวม เช่น แอมโมเนียซัลเฟต แอมโมเนียฟอสเฟต เป็นต้น
แต่ปุ๋ยยูเรีย เป็นแอมโมเนียในรูปแบบที่ไม่เหมือนกับ แอมโมเนีย โดยทั่วไป สามารถดูดซึมเข้าสู่พืชได้โดยทันที แม้พืชจะต้องการหรือไม่ต้องการก็ตาม
ฉะนั้น ยูเรียจึงมีผลต่อพืชอย่างมาก จึงควรจะใช้เมื่อจำเป็น และเป็นจำนวนที่น้อย ถ้าจำเป็นต้องใช้ แอมโมเนีย ก็ ใช้ในรูปแบบอื่น แต่ไม่ใช่จะไม่มีประโยชน์ มันก็มีประโยชน์มาก เหมือนน้ำตาล คือ กินแต่น้อย แต่ไม่ใช่อาหารหลัก
อนึ่ง N ที่ได้จากปุ๋ยมูลสัตว์ ส่วนมากเป็น ไนเตรท เพราะระหว่างที่หมัก หรือตากแห้ง แอมโมเนีย ระเหยออกไป มาก แล้ว ถ้าอยากทดลองให้เห็นจริง ก็เอามูลสัตว์ใหม่ๆ ใส่ต้นไม้ก็ได้
แล้วผมจะต่ออิกครับ เรื่อง เปอร์เซนต์ปุ๋ย เช่น 21-21-21 ซึ่งเป็นปุ๋ย สูตรสูง ในตำราของนักวิชาการ เรียกว่าปุ๋ยบริสุทธิมาก กับ ปุ๋ย 3-3-3 หรือ 7-7-7 ซึ่งทั้ง สาม อย่าง เป็น อัตราส่วนเดียวกัน
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 19, 2012, 09:51:46 AM โดย pintong »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pintong
|
 |
« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2012, 10:05:50 AM » |
|
นี่เป็นตัวอย่าง สูตร 21-21-21 ซึ่งนิยมใช้กัน ว่าเป็นปุ๋ยเต็มสูตร ราคาแพง ใช้แม่ปุ๋ย ที่กรมวิชาการเกษตร แนะนำ คงจะมีบริษัท ปุ๋ยเป็นส่วนน้อย ที่จะใช้แม่ปุ๋ย อื่นๆ ก็ในเมื่อ ทางราชการเปิดโอกาศให้อย่างนี้แล้ว แล้วผมจะมาวิจารณ์ ต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pintong
|
 |
« ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2012, 09:35:00 AM » |
|
ที่ผมเคยเขียนว่า ชาวสวนกระเทียมเวลาขายกระเทียมจะบอกว่า ที่สวนไม่ได้ใส่ ปุ๋ยยูเรีย เลยครับ แต่ใช้ปุ๋ย 13-13-21 ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ได้รับคำแนะนำ จากทั้งทางราชการและร้านค้าให้ใส่กระเทียม
แต่ทุกท่านก็เห็นแล้วว่าเป็นอย่างไร การผสมแต่ละอย่างก็ไม่เหมือนกัน สูตรเดียวกัน ฉะนั้นผลผลิต แต่ละ เจ้าที่ผลิต จึงไม่เหมือนกัน เพราะส่วนประกอบของปุ๋ยไม่เหมือนกัน ปุ๋ยที่ผสมตามรูปข้างบน ใช้แม่ปุ๋ยที่ทางราชการแนะนำ ต้องการผสม 50 กก. แต่ผลรวมที่ผสมทั้งหมด คือ 54.24 ซึ่งเกินไป 4.24 กก. นี่แสดงให้เห็นว่า ถ้าใช้แม่ปุ๋ย สามตัวนี้ จะผสมไม่ได้ 21-21-21 แน่นอน อาจจะเป็น 20-20-20 แต่อะไรไม่สำคัญเท่า เราได้ ครอไรด์ แถมมาอิก 16.45 เปอร์เซนต์ ซึ่งถือว่ามาก และใช้ยูเรีย 13.91 กก. ในการผสมปุ๋ย 50 กก ซึ่งเท่ากับ 27.82 เปอร์เซนต์ สองรูปนี้เพิ่มปุ๋ยมาอิกตัวคือ โมโนโปตัสเซียมฟอสเฟต MOP ลองดูเปรียบเทียบกันครับ แต่ทั้งหมดก็ยังไม่มีธาตุอาหารรองเลย ซึ่งควรจะต้องมีในปุ๋ยอย่างยิ่ง
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 21, 2012, 08:21:36 AM โดย pintong »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pintong
|
 |
« ตอบ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2012, 03:27:25 PM » |
|
ตัวนี้ก็ไม่เต็มสูตร เพราะผสมแล้ว มากกว่า 50 กก. สูตรเสมอ 7-7-7 มีอาหารหลัก ครบถ้วน มีธาตุอาหารรอง ครบถ้วน ไม่มีคลอไรด์ และ ยูเรีย ตัวนี้คือสูตร12-12-12 ที่ น่าสนใจ สำหรับบำรุงไม้ยืนต้น มีธาตุอาหารรองครบ แต่ยังมี คลอไรด์ อยู่เล็กน้อย แต่ใช้กับไม้ผลต้นใหญ่ ซึ่งทนได้มาก และมี ยูเรียอยู่เล็กน้อย ซึ่ง จะไม่ให้มีเลยก็ได้ ต้องคำนวนใหม่ สูตร12-12-17 มีอาหารหลัก ครบถ้วน มีธาตุอาหารรอง ครบถ้วน มีคลอไรด์ และยูเรียน้อย ใช้บำรุง ไม้ผลระยะติดผล
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 21, 2012, 03:46:34 PM โดย pintong »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pintong
|
 |
« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2012, 08:48:44 PM » |
|
มีท่านสมาชิกต้องการผสมปุ๋ยสูตร 8-24-24 และขอสูตรผสมมา ผมจึงคำนวนให้หลายๆสูตร ถ้าไม่เข้าใจก็สอบถามได้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jukgree
Newbie

กระทู้: 38
|
 |
« ตอบ #10 เมื่อ: ธันวาคม 14, 2012, 03:04:14 PM » |
|
คุณ ภาณุ ครับ ผมหาซื้อปุ๋ยสูตร 11-0-52 ไม่ได้เลยจะเอามาใช้พ่นทางใบในนาข้าว ผมรบกวนคุณ ภาณุ คำนวณสูตรปุ๋ยให้หน่อยนะครับ
ขอขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pintong
|
 |
« ตอบ #11 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2012, 11:10:09 AM » |
|
สวัสดีครับ เดี๋ยวเย็นๆผมจะเอาลงให้นะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pintong
|
 |
« ตอบ #12 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2012, 08:11:59 PM » |
|
ต้องขอโทษครับ พอดีมีงานด่วนมากๆเลยไม่ได้เอาลง สูตรนี้ใช้ปุ๋ยตามที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ ตามความคิดเห็นส่วนตัว ผมคิดว่ามี ครอไรด์ มากเกิน และใช้ ไนโตรเจนจาก แอมโมเนียตัวเดียว ซึ่งไม่น่าจะดี ถ้าไม่รีบร้อน ผมจะคำนวณให้อิกเพื่อเปรียบเทียบ ครับ อนึ่งราคาปุ๋ยใช้ราคาของผมเทียบ จะไม่ตรงตามความเป็นจริงครับ เพราะอย่างไรก็ตาม ผสมปุ๋ยใช้เอง ราคาจะถูก มากที่สุดครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pintong
|
 |
« ตอบ #13 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2012, 06:11:06 AM » |
|
มีอิกสูตรหนึ่ง ครับ ที่คิดว่าดีกว่า มีครอไรด์น้อย มีไนเตรทเพิ่มขึ้นมา ลดแอมโมเนียจากยูเรียลง ราคาคงจะเพิ่มขึ้น ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pintong
|
 |
« ตอบ #14 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2012, 08:00:31 PM » |
|
มีอิก เป็นสูตรเดียวกัน แต่ราคาถูกกว่า และดีกว่า ทั้ง สอง แบบข้างต้น มี ซัลเฟอร์ และแม็คนีเซียม เพิ่มขึ้นมา ซึ่งมีประโยชน์มาก ที่ใช้อย่างอื่นผสมอิก ก็คือ ชั่งปุ๋ยทั้งหมดใส่แกลลอน ที่มีความจุ 10 ลิตร แล้วใส่น้ำให้ครบ 10 ลิตร คนให้ละลาย แล้วก็เอาไปผสมน้ำเพื่อพ่นได้เลย ( ต้องผสมสารจับใบ ) พ่นตอนเย็น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|